คนเลี้ยงไก่ไข่ภาคใต้ ถอดใจเลิกเลี้ยง หลังอาหารสัตว์แพง จี้รัฐเปิดนำเข้าข้าวโพดชั่วคราว

นายสุเทพ สุวรรณรัตน์ นายกสมาคมผู้เลี้ยงไก่ไข่ภาคใต้ เปิดเผยว่า ขณะนี้ผู้เลี้ยงไก่ไข่รายย่อยภาคใต้ กำลังประสบปัญหา ต้นทุนการเลี้ยงเพิ่มขึ้น และขาดแคลนเงินทุน จนทำให้ผู้เลี้ยงไก่ไข่ภาคใต้ทยอยปิดกิจการ เลิกเลี้ยงไปแล้วกว่า 20-30 ราย หรือคิดเป็น 10% จากจำนวนผู้ค้าผู้เลี้ยงทั้งหมดในภาคใต้กว่า 300 ราย หากปล่อยสถานการณ์เป็นเช่นนี้ คาดว่าผู้เลี้ยงไก่ไข่รายย่อย อาจต้องเลิกเลี้ยงเพิ่มอีกมาก ซึ่งเป็นห่วงว่าสถานการณ์ไก่ไข่ อาจซ้ำรอยเหมือนวงการเลี้ยงหมูเมื่อ 2-3 ปีที่ผ่านมา ที่ปล่อยให้ผู้เลี้ยงรายย่อยเลิกเลี้ยงไปหมด จนสุดท้ายเหลือเพียงผู้เลี้ยงรายใหญ่ในตลาด และทำให้หมูมีราคาแพงอย่างรุนแรง กก. 200-250 บาทคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

“ปัญหาต้นทุนการเลี้ยงไก่ไข่ยังคงเป็นเรื่องใหญ่สุด โดยขณะนี้มีต้นทุนเฉลี่ยฟองละ 3.71 บาท ขณะที่ราคาขายก็ขายได้ไม่เท่ากัน มีตั้งแต่ฟอง 3.60-3.80 บาท และยิ่งเป็นภาคใต้ต้นทุนการเลี้ยงยิ่งสูงขึ้นกว่าภาคอื่น เพราะมีต้นทุนค่าขนส่งต่างๆ รวมเข้ามาด้วย เช่น อาหารสัตว์ต้องซื้อถึง กก.ละ 19 บาท แพงกว่าพื้นที่ทั่วไป กก.ละ 1-1.50 บาท ส่งผลให้ผู้เลี้ยงเดือดร้อนอย่างมาก”

นายสุเทพ กล่าวว่า แม้เกษตรกรกำลังทยอยเลิกเลี้ยงไก่ไข่ไป แต่ประเทศไทยจะไม่เกิดปัญหาไข่ขาดแคลน เพราะสถานการณ์ผลผลิตไข่ไก่ในปัจจุบัน ยังมีเพียงพอต่อความต้องการ โดยมีปริมาณไข่ไก่ที่ 41-42 ล้านฟองต่อวัน มากกว่าความต้องการบริโภคเฉลี่ยวันละ 39 ล้านฟอง ดังนั้น จึงมั่นใจได้ แม้เกษตรกรจะหยุดเลี้ยงไปบ้าง แต่ก็ไม่ทำให้ไขในประเทศขาดแคลนแน่นอน

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่อยากให้หน่วยงานภาครัฐเข้ามาช่วยเหลือ คือการดูแลเรื่องต้นทุนการผลิตแก่ผู้เลี้ยงรายย่อยที่มีต้นทุนการเลี้ยงสูงกว่ารายใหญ่ โดยเฉพาะการช่วยควบคุมต้นทุนอาหารสัตว์ ซึ่งปัจจุบันวัตถุดิบบางตัวอย่างข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของไทย แพงกว่าหลายประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ราคาของไทยตก กก.ละ 11-12 บาท แพงกว่าข้าวโพดในเวียดนามตอนนี้เหลือ กก.ละ 10 บาท ขณะที่ข้าวโพดมาเลเซีย เหลือ 8.50 บาท จึงอยากให้ภาครัฐมีการปลดล็อกให้นำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เข้ามาใช้ในประเทศเป็นการชั่วคราว เพื่อแก้ปัญหาไม่เพียงพอและช่วยให้ราคาถูกลงคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

ปัจจุบันผลผลิตของชาวไร่ ไม่มีเหลือแล้ว และอยู่ในช่วงกำลังเริ่มปลูกกันใหม่ โดยข้าวโพดที่มีอยู่ตอนนี้ ส่วนใหญ่อยู่ในมือพ่อค้าคนกลางที่มีไซโลเก็บเท่านั้น ซึ่งกลุ่มคนนี้ก็จะได้ประโยชน์เพราะขายได้ราคาสูง สวนทางกับเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่ ไก่เนื้อ สุกร ที่ต้องเดือดร้อนจากอาหารสัตว์แพง จึงอยากให้รัฐมีการผ่อนปรนเรื่องนำเข้าข้าวโพดเข้ามาชั่วคราว ให้มีปริมาณเพียงพอต่อการใช้ แต่ไม่ได้หมายถึงให้เปิดเสรีนำเข้ามาทั้งหมด เพราะจะกระทบต่อเกษตรกรในระยะยาว

ด้าน ร้อยตรี จักรา ยอดมณี รองอธิบดีกรมการค้าภายใน กล่าวถึงแนวทางช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงว่า ได้หารือกับกรมปศุสัตว์ โรงงานผลิตอาหารสัตว์ ว่าจะร่วมกันสนับสนุนให้มีการเชื่อมโยงอาหารสัตว์จากโรงงานผลิตไปยังเกษตรกรผู้เลี้ยง เพื่อเพิ่มทางเลือกให้แก่เกษตรกรผู้เลี้ยงรายกลางและรายย่อยให้สามารถซื้ออาหารสัตว์ได้ในราคาหน้าโรงงาน โดยภาครัฐจะสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการส่วนหนึ่ง เชื่อว่าจะเป็นมาตรการช่วยเหลือตรงไปยังเกษตรกรผู้เลี้ยงที่เห็นผลได้โดยเร็ว ขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดทำรายละเอียดหลักเกณฑ์การสนับสนุน ก่อนที่จะประชาสัมพันธ์ให้พี่น้องเกษตรกรผู้เลี้ยงได้รับทราบและเข้าร่วมโครงการต่อไป